ททท. ผนึก อว. และหอการค้าไทย
นำร่อง 3 เส้นทางท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์สร้างสรรค์
จุดประกายมูลค่าทางเศรษฐกิจสู่ความยั่งยืน
เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2566 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมกับกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และหอการค้าไทย เปิดตัว “โครงการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์
สร้างสรรค์” ต้อนรับศักราชใหม่ด้วยกิจกรรมเส้นทางประวัติศาสตร์นำร่องคุณภาพสูงในพื้นที่ภูมิภาคภาคกลาง
ปฐมฤกษ์ด้วย 3 เส้นทาง 3 ยุคสมัย ได้แก่ เส้นทางทวารวดี เส้นทางอยุธยา และเส้นทางละโว้ขับเคลื่อน
เศรษฐกิจของประเทศให้เข้มแข็งและพัฒนาได้อย่างยั่งยืนด้วย Amazing Experience พร้อมเปิดเส้นทางนำ
ร่องเส้นทางแรก ภายใต้ชื่อ “สามเหลี่ยมมหัศจรรย์ของทวารวดี” มุ่งหน้าสู่จังหวัดราชบุรี สุพรรณบุรี และ
นครปฐม ระหว่างวันที่ 19 – 21 มกราคม 2566
นายกิตติพงษ์ ประพัฒน์ทอง ผู้อำนวยการภูมิภาคภาคกลาง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ประธานในพิธีเปิดงานแถลงข่าวโครงการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์สร้างสรรค์กล่าวว่า ตามที่กระทรวง
การท่องเที่ยวและกีฬา โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม และหอการค้าไทย ได้มีแนวทางร่วมกันในการพัฒนาชุดข้อมูลประวัติศาสตร์
แหล่งท่องเที่ยวศักยภาพอันเป็นอัตลักษณ์ของประเทศไทย นอกจากเป็นการถ่ายทอดทางวิชาการแล้ว
ยังนำไปสู่การออกแบบเส้นทางประวัติศาสตร์นำร่องคุณภาพสูงในพื้นที่ภูมิภาคภาคกลาง เพื่อตอบสนอง
การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรมของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นการท่องเที่ยวที่เน้น
การสร้างรายได้สู่ชุมชน รวมทั้งสร้างความรู้ความเข้าใจ พร้อมส่งต่อองค์ความรู้ให้คงอยู่สืบไป โดยดำเนินการ
จัดทำ 3 เส้นทางนำร่องที่สอดแทรกธีมในแต่ละเส้นทาง เพื่อสร้างประสบการณ์เดินทางอันล้ำค่าและน่าจดจำ
และจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการเดินทางของนักท่องเที่ยวรุ่นใหม่ที่สนใจรูปแบบการเดินทางท่องเที่ยว
เชิงประวัติศาสตร์ เปิดเส้นทางแรกกับเส้นทางทวารวดี”สามเหลี่ยมมหัศจรรย์ของทวารวดี” ภายใต้ธีม
เห็นรากเหง้าก่อนประวัติศาสตร์และมุมประวัติศาสตร์กับหลักฐานทางโบราณคดีที่เชื่อมโยงตั้งแต่อู่ทองถึง
สุวรรณภูมิ ในพื้นที่จังหวัดราชบุรี สุพรรณบุรี และนครปฐม เส้นทางที่ 2 เส้นทางอยุธยา “ย้อนรอย
ประวัติศาสตร์ผ่านเส้นทางแห่งสายน้ำ” ภายใต้ธีมวิถีชีวิตริมน้ำ ในพื้นที่จังหวัดอยุธยา และเส้นทางที่ 3
เส้นทางละโว้ “ย้อนเวลาสู่เมืองละโว้” ภายใต้ธีมวัฒนธรรมและความเชื่อ ในพื้นที่จังหวัดลพบุรี
ทั้งนี้ ททท. มุ่งหวังว่ากิจกรรมเส้นทางประวัติศาสตร์นำร่องคุณภาพสูงซึ่งได้รับความร่วมมือของทั้ง
3 หน่วยงานที่จะเกิดขึ้น จะนำไปสู่การต่อยอดเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์สร้างสรรค์ไปยังแหล่ง
ท่องเที่ยวอารยะอื่นๆ ได้ในอนาคต เช่น อารยธรรมตามพรลิงค์ อารยธรรมโคตรบูร อารยธรรมล้านนา และ
อารยธรรมศรีวิชัย เป็นต้น อีกทั้งช่วยส่งเสริมวิถีชีวิตชุมชน อาหาร การแต่งกาย สถาปัตยกรรม เทศกาลงาน
ประเพณีตลาดการค้าท้องถิ่น ตลอดจนพัฒนาผู้ประกอบการในแหล่งท่องเที่ยวชุมชนให้มีศักยภาพในการ
รองรับนักท่องเที่ยวได้ซึ่งจะเป็นการวางรากฐานที่มั่นคงและเข้มแข็งสำหรับการท่องเที่ยวของประเทศไทย
และนำไปสู่การขับเคลื่อน Amazing Experience ด้วยการพัฒนาและส่งเสริมสินค้ากลุ่ม BCG ตามแนวคิด
Happy Model ของรัฐบาลอย่างเป็นรูปธรรมได้ต่อไป
ด้าน ดร. ดนุช ตันเทอดทิตย์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม ได้กล่าวถึงบทบาทหลักของกระทรวงฯ ในการสร้างและพัฒนากำลังคน สร้างองค์ความรู้
สร้างนวัตกรรม และสร้างพลังขับเคลื่อนประเทศ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาพื้นที่และชุมชนผ่านมหาวิทยาลัย
ที่กระจายตัวอยู่ทั่วทุกภูมิภาค และอาศัยกลไกของ “วิทยสถาน สังคมศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์ และศิลปกรรม
ศาสตร์แห่งประเทศไทย หรือ ธัชชา” ขับเคลื่อนการวิจัย วิชาการและการพัฒนาทางด้านสังคมศาสตร์และ
มนุษยศาสตร์ของประเทศ แบบสหวิทยาการ ด้วยการบูรณาการองค์ความรู้ร่วมกับด้านวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี อาทิ การถ่ายภาพด้วยเทคโนโลยีLiDAR ในพื้นที่ที่คาดว่าจะมีโบราณสถานหรือแหล่งประวัติศาสตร์
การประมวลผลวิเคราะห์ข้อมูล และจัดทำแหล่งข้อมูลทางวิชาการเพื่อเสริมใช้ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
เปิดเส้นทางใหม่ ๆ สร้าง Story telling ที่อิงข้อมูลประวัติศาสตร์ที่พิสูจน์ได้โดยในปีนี้ได้ดำเนินกิจกรรม
การพัฒนาเศรษฐกิจด้วยเส้นทางประวัติศาสตร์ส่งเสริมการท่องเที่ยวคุณภาพสูงนำร่องภายใต้โครงการดังกล่าว
ซึ่งคาดว่าจะช่วยสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนในพื้นที่ ทำให้พื้นที่เข็มแข็งและพัฒนาได้อย่างยั่งยืน
ขณะที่ นายธวัชชัย เศรษฐจินดา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย ได้กล่าวถึงบทบาทของ
หอการค้าไทยที่มีสมาชิกกระจายตัวอยู่ทั่วทุกจังหวัด ทั่วทุกภูมิภาค จะสามารถอำนวยการและประสานการ
ดำเนินงานในพื้นที่ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการในพื้นที่ รวมทั้งกลุ่มผู้ประกอบการรุ่นใหม่ YEC ที่มีทั้ง
ความพร้อมและมีไฟในการสร้างสรรค์แนวคิดใหม่ ๆ ให้เกิดประโยชน์กับพื้นที่อย่างสูงสุด ทั้งในแง่ของ
เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม สอดรับกับนโยบาย Connect the Dots ที่มุ่งเน้นให้หอการค้าไทยเป็น
ศูนย์กลางเชื่อมโยงเครือข่าย เพื่อยกระดับเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน โดยคาดว่ากิจกรรมดังกล่าว
นอกจากจะเป็นการสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับนักท่องเที่ยว ยังช่วยสร้างรายได้และสร้างการจ้างงานให้
เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่ได้เป็นอย่างดี