คาราวาน&แรลลี่รถยนต์ New Normal “เที่ยวอีสานพร้อม” ปี 2564 ตอน “ตอนคิดถึงชุมชนท่องเที่ยว” วันอาทิตย์ที่ 3 ตุลาคม 2564เส้นทาง สกลนคร – บึงกาฬ – หนองคาย – อุดรธานี
7Unseenบึงกาฬ
จังหวัดที่77ของประเทศไทย
1.Unseen ถ้ำนาคา
เปิดตำนานพญานาค(งูยักษ์) ตามความเชื่อ และความงามสุด ลึกลับ ถ้ำนาคา ภูลังกา-บึงกาฬ
(เขตอุทยานแห่งชาติภูลังกา อ.บึงโขงหลง จ.บึงกาฬ)
2.Unseenหินสามวาฬ
ก้อนหินยักษ์อายุราว 75 ล้านปี ลักษณะเหมือนฝูงปลาวาฬ พ่อ-แม่-ลูก กำลังว่ายน้ำกันอย่างสนุกสนาน จึงเรียกกันต่อยมาว่า”หินสามวาฬ”
(ภูสิงห์ อ.เมือง จ.บึงกาฬ)
3.Unseenภูทอก “ภูเขาที่โดดเดี่ยว”
ดินแดนแห่งความสุขสงบ ภูทอกมหัศจรรย์สถาปัตยกรรมของขุนเขา วิมานแห่งเทวดา จุดชมวิวธรรมชาติ
(ภูทอก บ้านนาคำแคน ต.นาแสง อ.ศรีวิไล จ.บึงกาฬ)
4.Unseenน้ำตกถ้ำพระ
“น้ำตกถ้ำพระ”Unseenสไลเดอร์น้ำตกหินชมธรรมชาติสวยที่ยาวมากที่เดียวในประเทศไทย อยู่บริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว บ้านถ้ำพระ เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ มี 3 ชั้น บนภูเขาหินทรายขนาดใหญ่และสวยงาม การเข้าไปชมน้ำตกUnseenจะต้องนั่งเรือเข้าไปผ่านบรรยากาศป่าอเมซอน-บึงกาฬ
(น้ำตกถ้ำพระ หรือ น้ำตกถ้ำพระภูวัว ตั้งอยู่บริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว บ้านถ้ำพระ อ.เซกา จ.บึงกาฬ)
5.Unseenสะดือแม่น้ำโขง
เขาเล่าว่า สายแม่น้ำโขงที่ทอดตัวยาวช่วงบริเวณจังหวัดหนองคาย-บึงกาฬ ผู้คนตลอดสองฟากฝั่งไทย-ลาว มีความความเชื่อหรือUnseenเกี่ยวกับปรากฎการณ์บั้งไฟพญานาคในวันออกพรรษาไทย-ลาว “วันเพ็ญขึ้นสิบห้าค่ำเดือนสิบเอ็ด” ของทุกปี และเชื่อว่ามีเมืองบาดาลหรือเมืองของพญานาค อยู่ใต้แม่น้ำโขงนั่นเอง โดยเฉพาะบริเวณ “แก่งอาฮง” ที่อยู่บริเวณใกล้กับหน้าวัดอาฮงศิลาวาส อ.เมือง จ.บึงกาฬ เชื่อกันว่าเป็น ประตูเมืองสู่วังบาดาลของพญานาค หรือเป็นจุดที่ลึกที่สุดของแม่น้ำโขง เรียกกันว่า “สะดือแม่น้ำโขง” ชาวบ้านเชื่อว่า Unseenแม่น้ำโขงประตูสู่เมืองพญา นั่นเอง
(แม่น้ำโขงหน้าวัดอาฮงศิลาวาส ต.หอคำ อ.เมือง จ.บึงกาฬ)
6.Unseenหมู่บ้านพญานาคกับพิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิตบึงกาฬ
พิพิธภัณฑ์มีชีวิตบึงกาฬ พญานาคอยู่ตามบ้านเรือนของชาวบ้านกว่า 100 ตน ผลงานกราฟฟิตี้ ”พญานาค” เช่น พญานาคร้านตัดผม พญานาคทำขนม พญานาคโรงเรียน พญานาคโรงพัก ฯลฯ
(หมู่บ้านท่องเที่ยวสตรีทอาร์ทและพิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิต หมู่บ้านขี้เหล็กใหญ่ อ.โซ่พิสัย จ.บึงกาฬ)
7.Unseenลายหินพิศวง”ป่าภูวัว”บึงกาฬ
ความUnseen ลายหินพิศวง คือ พื้นผิวของลานหินดังกล่าวมีทั้งลวดลายเหมือนเกล็ดงู(ที่คล้ายกับถ้ำนาคา อุทยานแห่งชาติภูลังกา จ.บึงกาฬ) ต่างกันที่มีลวดลายเป็นเส้นริ้วยาวสม่ำเสมอดูน่าพิศวงและมหัศจรรย์ทางธรรมชาติทางธรณีวิทยา รวมถึงมีพื้นผิวของลานหินดังกล่าวมีทั้งลวดลายเหมือนเกล็ดงู ที่คล้ายกับถ้ำนาคาเกี่ยวกับความเชื่อลึกลับของภูวัวอีกด้วย
(เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว อยู่ในพื้นที่ อ.บุ่งคล้า อ.เซกา อ.โขงหลง จ.บึงกาฬ)