นศ.ไอเดียเจ๋ง! ใช้ NFT-Token กระตุ้นเศรษฐกิจ หมุนเวียนการท่องเที่ยวดัน “SUKJAI SMART TRAVEL” ร่วมสถานประกอบการ
นักศึกษาวิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี (CIBA)
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) ที่ปฏิบัติงานสหกิจศึกษากับทางบริษัท
คริปโต ซิตี้ คอนเน็กซ์ จำกัด หรือ Crypto City Connext
ร่วมทำโปรเจกต์โครงการ “SUKJAI SMART TRAVEL” ต้อนรับ “น้องสุขใจ”
โฉมใหม่ในรูปแบบ Digital Coupon (NFT) ของ ททท. และพันธมิตร
กระตุ้นการท่องเที่ยวไทยรูปแบบ Digital ด้วยระบบ “Sharing Tokenomy”
ที่แรกของโลก ในการใช้โทเคนเป็นตัวกลางปันผลประโยชน์นักท่องเที่ยว
ชุมชน และผู้ประกอบการ สร้างความสนุกและเศรษฐกิจหมุนเวียนแบบยั่งยืน
โดยการ “ตามเก็บน้องสุขใจ”
เมื่อเร็วๆ นี้ (14 มิ.ย. 66) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จัดงาน “DPU
CWIE Day” ประจำปีการศึกษา 2565
โดยมีการนำเสนอโครงงานของนักศึกษาสหกิจศึกษาบนเวที
เชิญสถานประกอบการของนักศึกษามาบอกเล่าประโยชน์ที่ได้รับ
และร่วมชมนิทรรศการ “What Are Your CWIE Projects:
สร้างอะไรให้สถานประกอบการ” ซึ่งคัดสรรและให้รางวัลโครงงาน 4
ประเภทจาก 36 ผลงาน ได้แก่ รางวัลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีดีเด่น
รางวัลนวัตกรรม CWIE ดีเด่น
รางวัลมนุษยศาสตร์/สังคมศาสตร์/การจัดการดีเด่น รางวัลโครงงาน CWIE
นานาชาติดีเด่น รางวัล Popular Vote และรางวัล Workplace Fan Favorite
นอกจากนี้ยังจัดงาน Job Fair
พบปะสถานประกอบการที่สนใจเข้าร่วมภาคีเครือข่าย
การรับสมัครงานแนะนำบริษัทไทย-จีน
พร้อมทั้งการอบรมทักษะการเข้าสัมภาษณ์
และอบรมเสริมสร้างทักษะการทำงาน
โครงการงาน DPU CWIE Day นี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2
หลังความสำเร็จในปีการศึกษาก่อนหน้า โดยพบว่านักศึกษา CWIE
ทุกคนในทุกหลักสูตรของโครงงานสหกิจศึกษาสามารถนำเสนองานที่ร่วมทำกั
บสถานประกอบการสู่สาธารณะเพื่อแสดงให้เห็นศักยภาพของนักศึกษาได้เป็นอ
ย่างดีตามเป้าหมายของนโยบาย และแนวทางของกระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เรื่อง
“การส่งเสริมจัดการศึกษาในรูปแบบสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับ
การทำงาน” (Cooperative and Work Integrated Education: CWIE)
ซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580)
แผนการปฏิรูปประเทศและพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ.2562
ที่มีทิศทางเป้าหมายให้มหาวิทยาลัยออกแบบหลักสูตรแบบอิงสมรรถนะ
และเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เข้าไปเพิ่มพูนประสบการณ์ในสถานประกอบการ
เสริมสร้างทักษะการทำงาน-ทักษะชีวิตในโลกยุคใหม่
เชื่อมโยงความรู้ในห้องเรียนไปสู่การประยุกต์หรือสร้างสรรค์นวัตกรรมพร้อมเข้
าสู่โลกของการทำงานก่อนเป็นบัณฑิต ผ่านการร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ
ภาคเอกชน และภาคอุตสาหกรรม
ซึ่งจะเป็นผู้รับบัณฑิตไปร่วมพัฒนาประเทศได้เป็นอย่างดีเยี่ยม
อาจารย์สุรชัย อเล็กซ์ สวนทับทิม หัวหน้าหลักสูตรธุรกิจระหว่างประเทศ
วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี (CIBA) กล่าวถึงโครงการนี้ว่า
เกิดประโยชน์ต่อหลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการศึกษา อาจารย์ นักศึกษา
รวมถึงสถานประกอบการ
ต่างล้วนได้ร่วมขับเคลื่อนนโยบายการส่งเสริมการจัดการศึกษาแบบบูรณาการกั
บการทำงาน การได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงงานต่างสาขา
การที่นักศึกษาที่ได้รับการยกย่องและภาคภูมิใจในผลงาน
จะทำให้นักศึกษารุ่นน้องมีแรงบันดาลใจในการรับฟังแล้วนำเอาไปต่อยอดเลือก
สถานประกอบการในอนาคต โครงการดังกล่าวฯ
ยังช่วยสร้างความสัมพันธ์และขยายเครือข่ายความร่วมมือกับสถานประกอบการ
เพื่อการดำเนินงานร่วมกันในอนาคต
โดยนักศึกษาจะมีโอกาสได้งานหรือได้สถานที่ปฏิบัติงานหลังเรียนจบทันที
ขณะที่สถานประกอบการคุณภาพเองก็ยังได้เห็นศักยภาพของนักศึกษา
หลักสูตร คณะวิชาและการทำงานด้วยแนวคิด “Work Based Learning”
ปรับทฤษฎีในห้องเรียนสู่การปฏิบัติจริงของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
“การออกไปปฏิบัติงานสหกิจ หรือ CWIE
คือวิธีการเรียนการสอนที่มหาวิทยาลัยทำงานควบคู่ไปกับสถานประกอบการ
โดยเราจะเรียกย่อๆ ว่าปฏิบัติสหกิจ คือส่งนักศึกษาไปทำงาน แทนคำว่าฝึกงาน
เพราะนักศึกษาต้องไปเรียนรู้วิธีการและทำงานจริงทุกอย่างและได้ค่าตอบแทน
โดยมีชั่วโมงในการปฏิบัติสหกิจเพิ่มจาก 4 เดือน เป็น 6 เดือน
ระยะเวลาการทำงาน 900 ชั่วโมง
นักศึกษาจะได้นำความรู้ภาคทฤษฎีที่เรียนมาจากห้องเรียนไปประยุกต์ใช้กับกา
รปฏิบัติงานจริง ซึ่งช่วยเพิ่มสมรรถนะหรือศักยภาพแก่นักศึกษาได้อย่างเต็มที่
ทำให้สามารถเลือกงานในอนาคตหลังจบการศึกษาได้ตรงความสามารถและตร
งใจ ทางสถานประกอบการเองก็จะได้วามคิดสร้างสรรค์จากคนรุ่นใหม่
โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งนับวันก็เกิดขึ้นเร็วมาก ไม่ว่าจะเป็น AI,
Blockchain, NFT หรือ ChatGPT
เราทุกคนก็ต้องอัพเดตตัวเองให้ทันโลกไปด้วยกัน
นักศึกษาก็ได้รับโอกาสเรียนรู้เทคโนโลยีเหล่านี้ ทำให้เกิดทักษะ
ความเชี่ยวชาญใหม่ๆ เพื่อจะได้นำไปปรับใช้การทำงาน การสื่อสารใหม่ๆ
ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ” อาจารย์สุรชัย กล่าว
อาจารย์สุรชัย ย้ำว่า
การเรียนควบคู่กับการปฏิบัติงานจริงก่อให้เกิดการเรียนรู้และความเข้าใจโดยอั
ตโนมัติและทักษะก็จะติดตัวเขาไป
ภารกิจนี้จึงได้รับเสียงตอบรับจากสถานประกอบการเป็นอย่างดี แทบทุกบริษัท
ทุกองค์กรชื่นชมความสามารถของเด็ก DPU
และที่สำคัญคือเสนอตำแหน่งให้กับนักศึกษาของเราหลังเรียนจบอีกด้วย
อย่างนักศึกษาตัวแทนหลักสูตรธุรกิจระหว่างประเทศ CIBA ที่ได้รางวัลดีเด่น
เข้าทำงานกับบริษัทเทคโนโลยี Blockchain และสร้างธุรกิจโดยใช้ NFT
เป็นเครื่องมือ
จากนั้นได้ไปนำเสนอโครงการของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยในโครงการ
SUKJAI SMART TRAVEL
ที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวให้คึกคักหลังจากสถานการณ์โควิด-19
ให้เกิดการหมุนเวียนอย่างยั่งยืนระหว่างชุมชน ผู้ประกอบการ และนักท่องเที่ยว
โดยเน้น 5 จังหวัดนำร่องคือ กรุงเทพฯ ภูเก็ต ขอนแก่น เชียงใหม่ และระยอง
ช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา
คุณหรรษธร ศรีสุข ผู้บริหารโครงการ SUKJAI SMART TRAVEL และ
Co-Founder บริษัท คริปโต ซิตี้ คอนเน็กซ์ จำกัด ระบุว่า
โปรเจกต์ดังกล่าวเป็นครั้งแรกของโลกที่นำเทคโนโลยี NFT มาสร้างระบบ
Sharing Tokenomy หรือเรียกว่า
ระบบการแบ่งปันโดยการใช้โทเคนเป็นตัวกลางในการแบ่งปันผลประโยชน์ให้กั
บนักท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยวในชุมชน
และผู้ประกอบการในการมอบสิทธิประโยชน์ให้กับนักท่องเที่ยว
คุณหรรษธร กล่าวอีกว่า ตอนที่รับน้องเข้ามาร่วมทำงาน
ให้น้องทำโปรเจกต์นี้ในฐานะผู้จัดโครงการดูแลทั้งโครงการเลย
โดยทางเราไปร่วมกับ ททท. กระตุ้นการท่องเที่ยวโดยใช้เทคโนโลยี
Blockchain สร้างน้องสุขใจเป็น NFT แล้วผูกสิทธิประโยชน์พาร์ทเนอร์ต่างๆ
เช่น เซ็นทรัล Jaymart มีทั้งส่วนลดค่ากาแฟ อาหาร ฯลฯ
เกิดการสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน เกิดการท่องเที่ยวชุมชน
สร้างผู้ประกอบการใหม่ๆ ในพื้นที่
โดยหนึ่งรอบที่หมุนเวียนเกิดมูลค่าทบทวีคูณมหาศาล
มากกว่านั้นถ้าเราขยายไป 77 จังหวัด สามารถกระตุ้น GDP
ของประเทศได้เลยเพราะนักท่องเที่ยวที่เล่น NFT มีกำลังจ่ายสูง โดย Pilot Test
เกมตามล่าหาสมบัติไปกับน้องสุขใจที่เราแจก
หลังประเมินความสนใจจากทั้งหมดมี 5,550 ชิ้น ก็มีคนใช้จริงทั้งหมด 5,363
ชิ้น เรียกว่า 99% คือได้ผลตอบรับดีมากในแค่ 3 วัน และทุกวันนี้ NFT
ที่เก็บไปมีคนซื้อกันอยู่ โดยตัวหายาก ราคาไปที่ 2,000 บาท
“เรามาร่วมงาน CWIE Day เพราะต้องการขยายความร่วมมือ โดยได้ทำ
MOU เพื่อจะได้น้องๆ นักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
มาร่วมขยายโครงการนี้ไปให้ทั่วประเทศ
จากความเชื่อมั่นที่เราและน้องได้เรียนรู้ซึ่งกันและกัน
เรามั่นใจว่าจะสร้างกลุ่มเด็กที่มีคุณภาพเพื่อร่วมกันทำงานให้เกิดประโยชน์สูงสุ
ดทั้งองค์กร พาร์ทเนอร์ ประเทศ เพราะไม่ว่าจะทักษะการเจรจาต่อรอง
การพูดคุยกับการท่องเที่ยวฯ ในการเสนอไอเดีย ทำการตลาด
ให้กับพื้นที่ชุมชน การนำเสนอ การงบจัดสรรงบลงทุน
น้องนักศึกษาทำออกมาได้อย่างดี ประสบความสำเร็จ
ซึ่งเราได้รับการชื่นชมจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ผู้ประกอบการต่างๆ
มากมาย” คุณหรรษธร กล่าว
น.ส.เขมจิรา กินแก้ว
นักศึกษาวิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี (CIBA)
หลักสูตรธุรกิจระหว่างประเทศ (IB) ชั้นปีที่ 4
ได้แชร์ประสบการณ์ในการเรียนและปฏิบัติงานสหกิจศึกษาว่า
ขอขอบคุณคณาจารย์และผู้บริหารที่นอกจากดูแลให้ความรู้ทางด้านวิชาการ
ยังเสริมสร้างทักษะการทำงานและทักษะชีวิต
ที่นำมาปรับใช้จนมีความชำนาญและเชี่ยวชาญสามารถสร้างผลงานออกมาได้
สำเร็จ โดยหลักสูตร IB ที่เรียนไม่ใช่แค่รู้ธุรกิจระหว่างประเทศ
แต่สามารถนำกลยุทธ์ต่างๆ ในทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะการตลาด โลจิสติกส์
การเงิน บัญชี หรือแม้แต่การบริหารจัดการต่างๆ ก็สามารถนำมาปรับใช้ได้จริง
ซึ่งเป็นผลดีมากทำให้ได้เป็นผู้จัดการโครงการนี้
“หลังการทำงานผ่านไป
อาจารย์ก็มาช่วยให้เราร่วมงานกับพี่หรรษธรได้ดี จนเขาเห็นความสามารถ
เราต้องประสานงานเอง ตัดสินใจเองทั้งหมด
ดูแลงบการตลาดและประชาสัมพันธ์ กับทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
กลุ่มพัฒนาเมือง 5 จังหวัด นอกจากนี้พื้นฐานเดิมที่มหาวิทยาลัยปูให้ ไม่ว่าเรื่อง
Metaverse NFT หรือ
การสนับสนุนแข่งขันสตาร์ทอัพไทยแลนด์ที่ท่านอธิการบดีนำเข้ามา
ก็ทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้และเข้าใจเทคโนโลยีเหล่านี้มาก่อน
เป็นการส่งเสริมให้ชอบเทคโนโลยี กล้าที่จะแสดงศักยภาพของเราเพิ่มมากขึ้น
ช่วยต่อยอดทั้งความรู้ การทำงาน การทำในสิ่งที่ชอบ
ไปด้วยกันหมดในทุกทิศทาง” น.ส.เขมจิรา กล่าว