NEWS

ผอ.ททท.สมุทรสงคราม ได้ร่วมประชุมบูรณาการแผนปฏิบัติการ ททท. ประจำปี 2567

ระหว่างวันที่ 11-13 ก.ค. 66 นายอรรถพล วรรณกิจ ผอ.ททท.สมุทรสงคราม ได้ร่วมประชุมบูรณาการแผนปฏิบัติการ ททท. ประจำปี 2567 (Tourism Authority of Thailand Action Plan 2024 : TATAP 2024) ณ โรงแรมแกรนด์ เซนเตอร์ พอยต์ สเปซ พัทยา จ.ชลบุรี โดยมีนายโชติ ตราชู ประธานกรรมการ ททท. นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการ ททท. พร้อมด้วยคณะกรรมการ ผู้บริหาร ผู้อำนวยการสำนักงาน ททท. ในทุกภูมิภาคทั่วโลก เข้าร่วมประชุมฯ


ซึ่ง ททท. ได้กำหนดนโยบายการดำเนินงานของ ปี 2567 โดยมุ่งไปสู่เป้าหมาย “การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน” เป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินงานในทุกภาคส่วนของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย ซึ่งต้องบูรณาการการทำงานระหว่างกัน ทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และชุมชนในพื้นที่ โดยให้ความสำคัญต่อการคำนึงถึงขีดความสามารถของแหล่งท่องเที่ยว (Capacity) ในการรองรับนักท่องเที่ยว การยกระดับห่วงโซ่อุปทาน หรือ Supply side ให้มีความพร้อมและมีมาตรฐานการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ตลอดจนส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ ควบคู่กับส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรอง เพื่อให้เกิดการกระจายรายได้สู่ฐานรากอย่างทั่วถึง สู่หมุดหมายของการเดินหน้าขับเคลื่อนการท่องเที่ยวไทยในอนาคตให้เติบโตอย่างยั่งยืนและสมดุลทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อันสอดคล้องกับแนวคิด Bio Circular Green Economy หรือ BCG Model
โดยปี 2567 จะเป็นปีแรกของการมุ่งสู่ Resilience ต่อจากความสำเร็จในการเปิดประเทศ (Reopen) และการฟื้นตัว (Recovery) โดยต้องเริ่มขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไปสู่ระบบนิเวศด้านการท่องเที่ยวใหม่ (New Tourism Ecosystem) ให้เป็นระบบนิเวศด้านการท่องเที่ยวที่มีความสมดุลระหว่างมูลค่าและคุณค่า โดย “คุณค่า” คือ คุณค่าของประสบการณ์ (Value on Experience :VOX) ซึ่ง ททท. จะส่งมอบบนพื้นฐานของคุณภาพและความปลอดภัย รวมถึง ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ชุมชน สังคม พร้อมรองรับนักท่องเที่ยวคุณภาพอย่างยั่งยืน เพื่อให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยกลับมาอย่างแข็งแกร่ง และสร้างความมั่นคงทางการท่องเที่ยว (Tourism Security) ซึ่งประกอบด้วย การเสริมสร้างความแข็งแกร่งของห่วงโซ่อุปทาน การพัฒนาปัจจัยสนับสนุนการท่องเที่ยวและโครงสร้างพื้นฐานบริการนักท่องเที่ยวอย่างเท่าเทียม การเร่งรัดการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการความเสี่ยงภายนอกอย่างมีประสิทธิภาพ และมุ่งเดินหน้าการท่องเที่ยวด้วย ZEST ได้แก่
Z: Zero in on Sustainability มุ่งผลักดันการท่องเที่ยวไปสู่ความยั่งยืน
E: Expressive – Full of Meaningful สร้างโมเมนต์ที่เต็มไปด้วยความหมายและความสุขจากการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์
S: Superior – Greater in Quality สร้างคุณภาพและมาตรฐานที่เหนือระดับในมิติของกลุ่มนักท่องเที่ยวคุณภาพ
T: Transformation – IT Modernization ใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มคุณค่าของประสบการณ์ (VoX) โดยจะควบคู่ไปกับการห่วงใยใส่ใจในเรื่องความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว หรือ CARE ได้แก่
C : Caution เฝ้าระวัง บริหารความเสี่ยงจากอุบัติเหตุต่าง ๆ
A : Aid in emergencies ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลนักท่องเที่ยวทันทีเมื่อเกิดเหตุ
R: Remedy รักษาเยียวยาความรู้สึกจากเหตุที่ประสบ
และ E: Escalate ยกระดับการป้องกันเหตุ ถอดบทเรียนเพื่อศึกษาแนวทางการป้องกันเหตุในอนาคต
โดยเชื่อมั่นว่า การดำเนินงานของ ททท. ภายใต้บริบทของ ZEST และ CARE จะช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยให้เติบโตอย่างมั่นคง ยั่งยืน และสมดุล พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและคงความสำคัญของการเป็นกลไกสร้างรายได้ให้กับเศรษฐกิจของประเทศไทยต่อไปเพื่อให้รายได้จากการท่องเที่ยวในปี 2567 กลับมา 100% ของระดับรายได้ในปี 2562 หรือ 3.1 ล้านล้านบาท ททท.จะเน้น Targeted & Keep Driving (Demand) ในเชิงคุณภาพเพิ่มทั้งจำนวนนักท่องเที่ยวและค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของนักเที่ยว โดยล็อกเป้า (Targeted) นักท่องเที่ยวกลุ่มคุณภาพที่มีกำลังซื้อสูงและมีจิตสำนึกที่ดี กระจายรายได้ลงสู่ท้องถิ่นและชุมชน และ ส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เกิดสมดุลในมิติพื้นที่และเวลา ขณะเดียวกันทางด้าน Supply เพื่อก้าวต่อไปข้างหน้าอย่างยั่งยืน (Build for the next chapter, Act responsibly) จะเร่งสร้างอุปทานการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ เน้นความยั่งยืนในการสร้างการเติบโต เพื่อมุ่งสู่ Net Zero Tourism


นอกจากนี้ การประชุมบูรณาการแผนปฏิบัติการ ททท. ประจำปี 2567 ยังได้มีการร่วมกันระดมความคิดเห็นถึงแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเด็นที่สำคัญต่าง ๆ อาทิ การส่งเสริมภาพลักษณ์และเสนอขายประสบการณ์ท่องเที่ยวไทยในมิติความยั่งยืน การกระตุ้นการใช้จ่ายและผลักดันการกระจายการเดินทางให้คนไทยท่องเที่ยวตลอดทั้งปี การจัดเก็บข้อมูลลูกค้า ททท. และ Voice of Customers (VOC) รวมถึง Voice of Suppliers (VOS) ที่สำคัญ ผ่าน Touchpoints ใน Customer Journey ตลอดจนสรุปแผนการดำเนินงานส่งเสริมตลาดเชิงบูรณาการของ ททท. ปี 2567
ทั้งนี้ ททท. จะนำเสนอและแถลงทิศทางการส่งเสริมการตลาดการท่องเที่ยว ปี 2567 ในวันที่ 17 กรกฎาคม 2566 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และผู้ที่เกี่ยวข้องในแวดวงอุตสาหกรรมท่องเที่ยวได้รับทราบแนวทางในการร่วมกันขับเคลื่อนการท่องเที่ยวของประเทศไทยให้ไปสู่การเป็นจุดหมายปลายทางที่ High Value และ Sustainable อย่างแท้จริง.